วิธีรับประทานผลไม้ เพื่อความงามของรูปร่าง

ผลไม้เป็นที่นิยมรับประทานกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ทั้งรสชาติ รูปทรงและปริมาณน้ำตาลในผลไม้ ถึงแม้ว่าผลไม้ทุกชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณและการเลือกรับประทานแต่ละชนิดให้มีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคล

การวางแผนก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยสำหรับคนที่รักสุขภาพ ไม่ว่าคุณจะมีกิจกรรมออกกำลังกายอยู่แล้ว หรือชอบนั่งเฉยๆดูทีมฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ลิเวอร์พูล โดยไม่ขยับเขยื้อนร่างกาย เรามาเริ่มด้วยการทานอาหารมื้อเช้าให้เป็นอาหารมื้อหนัก จะรับประทานอะไรก็ได้ตามปกติ อาหารมื้อเที่ยงอาจจะเป็นมื้อเบากว่าอาหารเช้า ส่วนอาหารมื้อเย็น ควรรับประทานอาหารเบาที่สุดเมื่อเทียบกับอาหารมื้ออื่น ซึ่งก็จะเป็นพวกกลุ่มผลไม้แต่ไม่ใช่ผลไม้ทุกชนิดที่สามารถรับประทานได้อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เนื่องจากต้องดูสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย บางคนไม่สามารถรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เพราะเกรงว่าจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือกระทบกับโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน

เราควรเริ่มต้นจะต้องเลือกผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เช่น แอปเปิล ฝรั่งและผลไม้พวกตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ แต่ให้หลีกเลี่ยงหรือไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลมากเกินไปซึ่งมักจะเป็นผลไม้ประเภทที่มีความนิ่มและหวาน เช่น ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่มีเนื้อหนาและซื้อได้ในช่วงฤดูกาล คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 16.3% ลำไย ผลไม้ที่มีลักษณะทรงกลม เป็นช่อ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 15.6% ลางสาด ผลไม้ที่มีลักษณะกลมรี เป็นช่อ มีเปลือกค่อนข้างบาง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 14.0% ลองกอง ผลไม้มีลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกค่อนข้างหนา คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 16.2 % ทุเรียน ผลไม้ขนาดใหญ่ ทรงกลม มีหนามปกคลุมทั่วเปลือก คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 34.7% สับปะรด ผลไม้ที่มีลักษณะทรงกระบอก เปลือกแข็งและมีตารอบผล คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 11.6% มะม่วงสุก เป็นผลไม้ที่มีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 15.9% แตงโม ผลไม้ที่มีลักษณะทรงกลม เปลือกแข็ง เนื้อในมีสีแดงหรือสีเหลือง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำตาล เท่ากับ 4.9%

ผลไม้รสหวาน

ไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง แทนมื้ออาหาร

ผลไม้สามารถทดแทนการรับประทานมื้ออาหารได้ อาจเปลี่ยนจากของหวานเป็นผลไม้แทน แต่จะต้องเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย ตามข้อ 2 ในทางตรงข้าม หากรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงแทนมื้ออาหารในทุกมื้อ ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างแน่นอน โดยเฉพาะจะทำให้น้ำหนักเพิ่มหรืออ้วนขึ้นนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ ข้อเสื่อม เบาหวาน เป็นต้น คนเราทุกเพศและวัย สามารถรับประทานผลไม้ได้ทุกชนิด เพียงสังเกตน้ำตาลในผลไม้และปริมาณในการรับประทานเข้าไป ต้องไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป หรือที่เรียกว่าการรับประทานอย่างสมดุล ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพและความงามได้อย่างมาก สำหรับคนที่ไม่ชอบผลไม้ ก็สามารถฝึกฝนได้ด้วยการรับประทานทีละนิดไปก่อน และเมื่อเกิดความเคยชิน ก็ค่อยเพิ่มปริมาณและชนิด จะได้ไม่ฝืนจนเกินไป