ทิศทางการดูแลความงาม ที่เปลี่ยนไป.. ใครต้องปรับตัวบ้าง

อุตสาหกรรมความงามและเครื่องสำอางของไทยในปัจจุบัน เรียกได้ว่ามีอัตราเติบโตค่อนข้างสูงและเกิดการขยายตลาดทางธุรกิจในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้น โดยเป็นการสั่งให้โรงงานผลิตแบบ OEM และใช้ Micro influencer เป็นพรีเซนเตอร์ในการนำเสนอแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญคือ ชาวมิลเลนเนียม ที่มีความสนใจสินค้ากลุ่มความงามและมีกำลังในการซื้อสูง

เรียกได้ว่าในยุคที่ผู้บริโภคต้องการ “สวยด่วน” และเกิด “มหัศจรรย์ความงามจากเครื่องสำอาง” ที่แพร่หลายผ่านทางคลิปออนไลน์ ทั้งการสาธิตการแต่งหน้า (แม้แต่เด็กเล็ก 7 ขวบ ก็ยังแต่งหน้าสอนผู้ใหญ่ จนได้รับความนิยมล้นหลามทั่วโลกได้) และการประกวดแข่งขัน Make-up ต่าง ๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์ทางความงาม ทั้งการบำรุง ฟื้นฟู ปรับสีผิว (เช่น ครีม BB) และเครื่องสำอางต่าง ๆ มีมูลค่าสูงราว ๆ 6 หมื่นล้าน โดยมีอัตราการเติบโตสูงเกือบ 4% ต่อปี

กลุ่มบำรุงผิวหน้า มาแรง

กลุ่มบำรุงผิวหน้า มาแรงสุด !

และหากเจาะลึกลงไปจะพบว่า สินค้าที่ได้รับความนิยมและได้รับส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มดูแลผิวหน้า (Face-care) เป็นสัดส่วนสูงสุดถึง 40% รองลงมาคือกลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นผมและการบำรุงศีรษะ (Hair-care) 33% กลุ่มเครื่องสำอางหรือเมคอัพ (Make-up) โดยเฉพาะ ดินสอเขียนคิ้ว รองพื้นและลิปสติก 16% และกลุ่มบอดี้แคร์ (Body-care) เพื่อการบำรุงผิวกาย 11%

ทั้งนี้มีการวิจัยตลาดพบว่า การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันมีการเปลี่ยนไป ลดการยึดติดในแบรนด์ หรือ Brand-Royality ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือชาวมิลเลนเนียล (Millennials) ในวัย 23 – 39 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเริ่มทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจความงามที่มีสัดส่วนสูงถึง 43% ทั้งในแง่ของมูลค่าและปริมาณการซื้อ โดยพบว่าตัวเลขรายจ่ายเฉลี่ยต่อสินค้า Mass Brand ที่วางขายทั่ว ๆ ไปตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ จะอยู่ที่ 176 บาทในปริมาณ 100 ml และ 536 บาทในปริมาณ 100 ml สำหรับสินค้าพรีเมี่ยมแบรนด์ ที่มีบู้ทเฉพาะหรือมีพนักงานขายให้คำแนะนำต่อลูกค้ารายบุคคล

สินค้าความงาม ยุค 2561

นอกจากนี้ เทรนด์ที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลผิวหน้ามากขึ้นและยินดีที่จะจ่ายแม้จะต้องเพิ่มขั้นตอนในการดูแลผิวหน้าเพื่อชะลอวัย จึงทำให้เกิดการแตกไลน์การผลิตและมีแบรนด์น้องใหม่ที่ผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการส่วนนี้มากขึ้น เช่น สินค้าล้างเครื่องสำอาง (Make Up Remover) และผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงฟื้นฟูอย่างล้ำลึก ประเภทมาร์คหน้า (Mask) เป็นต้น

ส่วนในแง่ของการประชาสัมพันธ์ ธุรกิจความงามจำเป็นจะต้องปรับตัวอย่างมาก จากเดิมที่ใช้พรีเซนเตอร์เป็นนักแสดงแถวหน้าหรือเน็ตไอดอลดัง ๆ กลายเป็นคนธรรมดาที่ให้สร้างความไว้วางใจและ “จับต้อง”ได้ มากกว่า อย่าง Micro Influencer แทน มาแรงแซงดารา เน็ตไอดอล

จะเห็นได้ว่าตลาดเครื่องสำอางและความงาม จะยังเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีการเติบโตได้ต่อเนื่องยาวนาน เหมือนกลุ่มตลาดบอลที่คอบอลยังคงคลั่งไคล้ทุกยุกสมัย แต่การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้นั้นต้องใส่ใจในคุณภาพและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยความจริงใจ จึงจะทำให้แบรนด์ “ขายตัวเองได้” และมีลูกค้าประจำยาวนานอย่างแท้จริง